หนุนเมล็ดพันธุ์คุณภาพ หัวใจความมั่นคงทางอาหาร

“ความมั่นคงทางอาหาร” เป็นประเด็นที่ทุกเวทีโลกหยิบยกขึ้นมาหารือ หลังจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้น

ไม่เพียงสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน ชีวิต รวมถึงระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปถึงวิกฤตภาคการเกษตร พื้นที่เพาะปลูก แหล่งต้นน้ำวัตถุดิบของหลาย ๆ อุตสาหกรรม ไทยเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งในภาคเกษตร ขับเคลื่อนนโยบาย “ครัวของโลก” โดยอาศัยความได้เปรียบของภูมิศาสตร์และอากาศที่ร้อนชื้น ทำให้ไทยเป็นแหล่งเพาะ “เมล็ดพันธุ์คุณภาพ” ที่ใหญ่และดีที่สุดของโลก หรืออาจเรียกว่าเป็นแชมป์ผลิตเมล็ดพันธุ์เขตร้อน

ในงานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ประธานคณะกรรมการ สมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก และสมาชิกของสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (APSA) กล่าวว่า เป็นที่รู้กันน้อยมากว่าเกษตรกรไทยนั้น มีความชำนาญในการผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของโลก

“สกลนครและขอนแก่น” คือพื้นที่ที่ใช้เพาะพันธุ์เมล็ดที่ดีที่สุด โดยได้ความร่วมมือในการช่วยเรื่องการวิจัย รับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เรื่อยมา ในที่สุดไทยสามารถส่งออกเมล็ดพันธุ์คิดเป็นมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทแทบทุก ๆ ปี

เมนูอาหารเย็น

“หากดูจากห่วงโซ่ของภาคการผลิตแล้วย้อนกลับไปที่ต้นน้ำ การจะมีพืชเกษตรที่มีคุณภาพ ส่งออกได้ นั่นเพราะการมีเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน จึงไม่แปลกหากไทยมีต้นทุนของต้นน้ำที่ดี ระหว่างทางกลางน้ำมีระบบการรักษา กักเก็บเมล็ดพันธุ์ไม่ให้สูญเสียไปกับโรคศัตรูพืช

และมีปริมาณที่เพียงพอ ปลายทางก็คืออาหารชั้นเลิศ มันคือความมั่นคงของทรัพยากรของอาหาร ที่จะป้อนให้ทั่วโลก คือความพร้อมในทุกด้าน ทำให้ปี 2565 นี้ไทยได้ครองแชมป์ผลิตเมล็ดพันธุ์เขตร้อนไว้ได้ เป้าหมายต่อไปคือการผลักดันไปสู่ศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”

ส่งออก 15,000 ล้านบาท

นางบุญญานาถ นาถวงษ์ นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) เปิดเผยถึงข้อมูลว่า ไทยได้เป็นศูนย์กลางของเมล็ดพันธุ์เขตร้อน ปี 2564 มีการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืช (ยกเว้นเมล็ดพันธุ์ข้าว) อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท

สำหรับเมล็ดพันธุ์สำคัญที่ไทยผลิตได้สูงสุดจะเป็นเมล็ดพันธุ์พืชไร่ เช่น ข้าวโพด เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น มะเขือเทศ และเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง แม้มูลค่าการเพาะเมล็ดพันธุ์จะไม่ได้สูงถึงแสนล้านบาท แต่เมล็ดพันธุ์จากไทยได้รับการยอมรับว่าสูงกว่ามาตรฐานสากล และสูงกว่ามาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรไปแล้วเรียบร้อย

“ปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่าส่งออกเมล็ดพันธุ์ 15,000 ล้านบาทหรือเติบโต 10-15% จากความต้องการเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น เพียงเพราะแต่ละประเทศกำลังหวั่นไหวกับวัตถุดิบ การขาดแคลนอาหาร จึงไม่ยากที่ไทยจะรักษาแชมป์นี้ต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อมูลค่าและการส่งออกเพิ่มขึ้น จะทำให้พื้นที่ 2 จังหวัดสกลนครและขอนแก่นไม่เพียงพอต่อการขยายพื้นที่เพาะเมล็ดพันธุ์ ดังนั้นจะขยายพื้นที่เพิ่มในเร็ว ๆ นี้แน่นอน”

เปิดทางเอกชนรับรองพันธุ์พืช

จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่เอกชนเท่านั้นที่ขับเคลื่อนแผนงานดังกล่าว แต่หน่วยงานภาครัฐกลับเป็นกำลังสำคัญยิ่งกว่า ที่เข้ามาช่วยทั้งงบประมาณ ห้องรับรอง ตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืช แม้กระทั่งการใช้เทคโนโลยีจีโนมในการวินิจฉัย ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ทั้งหมดก็เพื่อจับมือกันเดินหน้าสู่นโยบาย seed hub โดยการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ เกิดการทำงานร่วมกันที่เรียกว่า seed cluster

“นายศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร” รองผู้อำนวยการ (ด้านบริหารการวิจัยและพัฒนา) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า งบประมาณที่มี 5,000 ล้านบาท นำมาใช้เพื่อตอบโจทย์ใน 4 เรื่อง และหนึ่งในเรื่องสำคัญคือด้านเกษตร ที่จะใช้ทั้งการปรับปรุงและวิจัยพันธุ์พืช

ในขณะที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดแผนแม่บทยุทธศาสตร์พืชเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ ข้าวโพดและผัก และแผนแม่บทยุทธศาสตร์พืชเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชอาหารสัตว์ และพืชบำรุงดิน รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีจุลินทรีย์ เคลือบเมล็ดพันธุ์พืชก่อนปลูก ส่งผลให้พืชแข็งแรง มีความทนทานต่อแมลงศัตรูพืชและสภาพภูมิอากาศดีขึ้น

รวมถึงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนเข้ามาช่วยตรวจรับรองเมล็ดพันธุ์ ซึ่งการให้บทบาทภาคเอกชนหรือองค์กรต่าง ๆ รวมถึงภาคมหาวิทยาลัย จะเร่งช่วยผลักดันให้ไทยมีโอกาสเป็นศูนย์กลางรับรองเมล็ดพันธุ์

บทความแนะนำ : เชื้อก่อโรคในน้ำอ้อย

เชื้อก่อโรคในน้ำอ้อย

น้ำอ้อย เครื่องดื่มที่มีรสหวาน กลิ่นหอม หากดื่มเย็นๆแล้วทั้งชื่นใจ ทำให้ชุ่มคอ และช่วยคลายร้อนได้

 

น้ำอ้อย

ร้านรถเข็นขายน้ำอ้อยเป็นร้านที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ที่เห็นจนชินตาทั้งตามตลาดนัดแผงลอย ร้านค้าริมทางตามท้องถนน ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เกต ทว่าสิ่งหนึ่งที่มันมากับอาหาร ขอเตือนทุกท่านที่เป็นขาประจำน้ำอ้อยบรรจุขวดซื้อจากร้านค้าในตลาดย่านต่างๆว่าน้ำอ้อยนั้นอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ เช่น เชื้อ อี.โคไล

เชื้อชนิดนี้ พบได้ปกติในอุจจาระของคนและสัตว์ จึงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สุขลักษณะของอาหารและน้ำ ซึ่งหมายถึงว่าหากอาหารและน้ำมี เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนนั่นแสดงว่าไม่สะอาดและอาจไม่ปลอดภัย เพราะการที่อาหารและเครื่องดื่มมี เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนจำนวนมากๆ หรือมีเชื้อ อี.โคไล สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคปนเปื้อน เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารดิบ อาหารปรุงสุกที่ค้างคืนไว้นาน ผักผลไม้ที่ล้างไม่สะอาด เครื่องดื่มหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ หรือผู้ผลิตไม่รักษาความสะอาดในระหว่างการผลิต

เมื่อเราทานอาหารที่ปนเปื้อนเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย จะเป็นสาเหตุให้ท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษ แต่อาการจะไม่รุนแรง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ไม่มีมูกเลือด อาจมีไข้ ปวดท้อง ท้องอืด ไม่อยากอาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 1-2 วัน

สถาบันอาหารได้เก็บตัวอย่างน้ำอ้อย จำนวน 5 ตัวอย่าง จากตลาดย่านต่างๆในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อน ผลปรากฏว่า พบเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนในน้ำอ้อยทั้ง 5 ตัวอย่าง

เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้วขอแนะว่า เลือกซื้อน้ำอ้อยจากร้านที่มั่นใจได้ถึงการรักษาความสะอาด ผู้ผลิตและผู้ขายมีการรักษาสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เช่น รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล ล้างมือก่อนสัมผัสวัตถุดิบ และน้ำอ้อยที่คั้นเสร็จแล้ว สถานที่ผลิตหรือบริเวณร้านที่ขายสะอาดสะอ้าน เพื่อความปลอดภัย

อัพเดทข่าวอาหาร แนะนำข่าวเพิ่มเติม : ชามและช้อน “เพิ่มความเค็ม” ลดปริมาณเกลือในอาหาร

ชามและช้อน “เพิ่มความเค็ม” ลดปริมาณเกลือในอาหาร

ญี่ปุ่นคือหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคอาหารรสเค็มเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉลี่ยประชาชนชาวญี่ปุ่นจะรับประทานเกลือสูงถึง 4,200 มิลลิกรัมต่อวัน

ก่อนหน้านี้ นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการมิยาชิตะ ณ มหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น ได้ประดิษฐ์ “ตะเกียบเพิ่มรสเค็ม” ช่วยให้อาหารเค็มขึ้นแม้ใส่เกลือเท่าเดิม นวัตกรรมด้านอาหารที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว

ทว่า ตะเกียบเป็นอุปกรณ์ที่มีพื้นที่น้อย และการเพิ่มความเค็มให้อาหารจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเข้าช่วย ส่งผลให้อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้าถูกออกแบบให้อยู่ในสายรัดข้อมือแทน หมายความว่า ผู้ใช้ตะเกียบจะต้องสวมสายรัดข้อมือนี้ไปด้วย จึงไม่ค่อยเท่าไรนักเมื่อนำมาใช้ในชีวิตจริง

เมนูอาหาร100เมนู

ดังนั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมจิ จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ในรูปแบบอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ ชามและช้อนเพิ่มความเค็ม โดยใช้หลักการแบบเดียวกับตะเกียบเพิ่มความเค็มที่ได้พัฒนาออกมาก่อนหน้านี้

ชามและช้อนเพิ่มความเค็ม จะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ได้ภายในตัว ซึ่งกระแสไฟฟ้าเหล่านี้จะถูกส่งไปยังอาหาร ทำให้ไอออนของเกลือ (โซเดียมคลอไรด์) แตกตัวได้ดี ต่อมรับรสบนลิ้นจะรับรสความเค็มได้ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 1.5 เท่า

นั่นหมายความว่า หากคุณเติมเกลือในอาหารปริมาณเท่าเดิม คุณจะได้รับรสชาติที่เค็มมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้คุณต้องเติมเกลือ “ลดลง” เพื่อให้ได้ความเค็มของอาหาร “เท่าเดิม”

จุดเด่นของชามและช้อนเพิ่มความเค็ม คือ อุปกรณ์เหล่านี้มีขนาดใหญ่ สามารถใส่แบตเตอรี่ลงไปได้ (ชามจะใส่ไว้ที่ด้านหลังบริเวณก้นชาม ส่วนช้อนจะใส่ไว้บริเวณด้ามจับ) โดยไม่ต้องติดตั้งแบตเตอรี่ออกมาภายนอกเหมือนตะเกียบ อีกทั้งยังครอบคลุมพื้นที่ของอาหารที่รับประทานได้มากกว่าการใช้ตะเกียบเพียงอย่างเดียว

มหาวิทยาลัยเมจิได้ร่วมกับบริษัทคิริน (Kirin) เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า “อิเล็กคิโซรุโตะ” (Erekisoruto) ส่วนชื่อภาษาอังกฤษนั้นอาจเป็น “อิเล็กซอลต์” (Elecsalt หรือเขียนให้ดูน่าสนใจมากขึ้นเป็น Elexolt) คาดว่าจะสามารถจัดจำหน่ายได้ภายในปีหน้า